วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553

อยากไปเรียนต่อ MBA เมืองนอกต้องเตรียมอะไรบ้าง

อยากไปเรียนต่อ MBA เมืองนอกต้องเตรียมอะไรบ้าง

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจเรียนต่อด้าน MBA ต่างประเทศ เพื่อฝึกทักษะทางด้านบริหารเพื่อสืบทอดกิจการของครอบครัวหรือหวังเป็นผู้บริหารที่มีเงินเดือนสูงๆ ไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ตาม สิ่งที่ Business School (B School) ส่วนใหญ่คาดหวังจากผู้สมัครก็คงหนีไม่พ้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้

1. GPA เกรดเฉลี่ยระดับปริญญาตรี : B School ที่มีชื่อเสียงหน่อยก็ต้องอย่างน้อย 3.00 up แต่ถ้าเป็น B School ทั่วๆ ไปจะต่ำกว่านี้

2. TOEFL / IELTS สำหรับคนที่จะไปเรียนก็ต้องเลือกก่อนว่าอยากไปประเทศไหน ถ้าเป็น USA ก็ต้อง TOEFL ส่วน UK หรือออสเตรียเลียใช้ IELTS แต่ปัจจุบัน UK จะยอมรับคะแนน TOEFL มากขึ้น ส่วน B School ใน USA บางที่ก็รับคะแนน IELTS ได้ ต้องลองเช็ค website ของแต่ละ B School ดูแล้วเลือกสอบได้ตามอัธยาศัย

· TOEFL มีการทดสอบ 3 แบบ ด้วยกัน คือ iBT (Internet Based Test)/CBT (Computer Based Test) /PBT (Paper Based Test) สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันได้ยกเลิกการสอบแบบ CBT ไปแล้ว เหลือเพียงการสอบแบบ iBT และ PBT โดยการสอบแบบ iBT จะทดสอบทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การพูด (Speaking) การฟัง (Listening) การอ่าน (Reading) และการเขียน (Writing) และในแต่ครั้งจะต้องผสมผสานทักษะต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการตอบคำถาม โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่งสำหรับการสอบ ซึ่งจะแตกต่างจาก PBT คือ การสอบแบบ PBT จะไม่มี Speaking ค่าสมัครสอบ TOEFL อยู่ที่ 160 USD.

ศูนย์สอบ iBT มีศูนย์สอบหลายแห่งทั้ง กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, สระบุรี, หาดใหญ่

ศูนย์สอบ PBT มีที่เดียว คือ ม.วลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช โดย ETS จะประกาศตารางสอบทั้งปี ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งการสอบ PBT จะเต็มอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะประกาศตารางสอบเพียงไม่นาน ทำให้บางคนที่อยากหนี speaking บินไปสอบที่สิงคโปร์หรือมาเลเซียเลยทีเดียว

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ets.org

· IELTS ใช้ประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้สมัครสอบใน 4 ทักษะ ได้แก่ การฟัง การอ่าน การเขียน และ การพูด รวมถึงความรู้ทางด้านไวยากรณ์และคำศัพท์ ค่าสมัครสอบประมาณ 5,700 บาท

สถานที่จัดสอบ IELTS

กรุงเทพ: สามารถลงทะเบียนได้ที่

- บริติซ เคานซิล
- อีเอฟ เอ็ดดูเคชั่น เฟิร์ส(ตึกเอ็มโพเรี่ยม ชั้น 25)
- เฟอร์เธอร์ เอ็ดดูเคชั่น (อาคารเลครัชดา คอมเพล็กซ์ เยื้องศูนย์สิริกิติ์)
- แฮนด์ส ออน เอ็ดดูเคชั่นคอนซัลแท็นต์ (อาคารกมลสุโกศล ชั้น 15 สีลม)
- เมนเทอร์ อินเตอร์เนชันแนล (ชั้น 16 อาคารรีเจนท์ เฮาส์ ถนนราชดำริ )
- โปรอินเตอร์เอ็ด (ยูนิต เอ2 ชั้น7 สยามทาวเวอร์ )
- เซลท์ เอ็ดดูเคชั่น ลิงค์(ชั้น F 5 ศูนย์การค้ายูเนี่ยนมอลล์ – ปากทางลาดพร้าวซอย 1,
ตรงสถานีรถไฟใต้ดินพหลโยธิน ประตูทางออกหมายเลข 5 หน้าศูนย์การค้าพอดี)
- ทาร์เก็ต เอ็ดดูเคชั่น (นราธิวาส ราชนครินทร์ ซอย 24 )

สถานที่สอบ
กรุงเทพ
1. โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส
2. โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์
เชียงใหม่: สามารถลงทะเบียนและสอบได้ที่ บริติซ เคานซิล โทรศัพท์: 66-5324-2103

หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก http://www.britishcouncil.org/th/thailand-exams-ielts-registration-fees.htm หรือ www.ielts.org

3. GMAT จากการสังเกตพบว่า B school ใน UK จะไม่ได้ require GMAT แต่ใน USA ต้องใช้ GMAT การสอบ GMAT จะเป็นการวัดความสามารถการใช้เหตุผลของผู้สมัคร แบ่งข้อสอบออกเป็น 3 ส่วนคือ

- Writing มี 2 Essay ให้เขียน คือ Issue Essay และ Argument Essay
- Math ทดสอบด้วยเลขคณิต ม.3 แต่ชอบหลอกให้เลือก Choice ผิดประจำ
- Verbal ทดสอบตรรกศาสตร์ มี 3 ส่วน คือ Reading Comprehension, Sentence Correction และ Critical Reasoning

การสอบ GMAT จะเป็นการสอบแบบ CATs Test (Computer Adaptive Tests)คือ ข้อสอบจะปรับระดับความยากง่ายตามความสามารถของผู้สอบ ถ้าตอบถูกติดกันหลายๆ ข้อ ข้อต่อไปก็จะยิ่งยากขึ้น แต่ตรงกันข้ามถ้าตอบผิด ข้อสอบก็จะง่ายลง ยิ่ง scale ความยากมากเท่าไหร่ คะแนนก็จะยิ่งสูงเท่านั้น และเมื่อสอบเสร็จ โปรแกรมจะประกาศผลสอบทันที (เฉพาะส่วน Math และ Verbal) ส่วนคะแนน Writing จะแจ้งให้ทราบทาง e-mail และจดหมายไม่เกิน 1 เดือนนับจากวันสอบ โดยคะแนน GMAT จะเต็ม 800 ถ้าเป็นประเภท B School ระดับ Top 5 ควรจะมีคะแนน 700 up โดยมีค่าสมัครสอบ 250 USD. สถานที่สอบมี 2 ที่คือ กรุงเทพฯ สอบที่ Pearson Professional Centers, เชียงใหม่ สอบที่ A&A NEO TECHNOLOGY สมัครสอบได้ที่ www.mba.com

4. Work Experience ส่วนใหญ่จะ require 2 ปีเป็นอย่างน้อย เพื่อให้เรามีประสบการณ์ในการ share กับเพื่อนร่วม class ได้

5. Letter of recommendation ไม่ว่าจะเป็นจากอาจารย์ผู้สอน, หัวหน้างาน, เพื่อนร่วมงานหรือลูกค้า แต่ที่เห็นบ่อยๆ จะเป็นของอาจารย์และหัวหน้างาน โดยเลือกคนที่รู้จักเรามากที่สุด โดย B School ส่วนใหญ่จะขอ recommendation 2 ฉบับ อย่างมากก็ 3 ฉบับ

6. Statement of purpose (SOP) / Personal Statement / Essay บางที่จะมีโจทย์มาให้ บางที่ก็ไม่ได้กำหนดไว้ เป็นการเขียนเล่าเกี่ยวกับตัวผู้สมัคร ไม่ว่าจะเป็น goal, objective, plan, experience, achievement, leadership เป็นต้น ซึ่ง SOP นี้ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ B School ใช้ในการคัดเลือกผู้สมัครนอกเหนือจากคะแนนสอบ

7. Resume / CV เน้นไปที่ Achievement & Accomplish ไม่ใช่บอกแค่ว่าเรามีหน้าที่หรือทำงานอะไรมาบ้างเท่านั้น แต่ควรบอกถึงผลสำเร็จของงานเช่น เพิ่มยอดขายจากกิจกรรมการตลาด 10 MB ต่อเดือน, คิดค้นวิธีลด lead time จากเดิม 15 วันเป็น 7 วัน เป็นต้น โดย Resume ควรมีความยาวที่เหมาะสมประมาณ 1-1 ½ หน้า

8. Money ต้องยอมรับว่าเงินก็เป็นส่วนสำคัญสำหรับการศึกษาต่อต่างประเทศ โดยเฉพาะการยื่นเอกสารขอ Visa จะต้องใช้ statement ของเราหรือของผู้ปกครอง แสดงหลักฐานทางการเงินว่าเรามีเงินสำหรับค่าเรียนและค่ากินอยู่เพียงพอสำหรับการเรียน 1 ปี โดยแต่ละ B School จะกำหนดตัวเลขขั้นต่ำมาให้ แต่สำหรับคนที่สอบได้คะแนน GMAT สูงๆ ก็มีโอกาสมากที่จะได้รับทุนการศึกษามากกว่าคนที่ได้คะแนนน้อย เพราะแต่ละ B School ต้องการรับนักเรียนที่มีคะแนน GMAT สูงๆ อยู่แล้ว เพราะเวลาจัด Rank คะแนน GMAT ของนักเรียนจะมีผลในการจัดอันดับโรงเรียนด้วยเหมือนกัน

ทั้งหมดนี้เป็น Requirement เบื้องต้นสำหรับผู้สนใจศึกษาต่อต่างประเทศ แต่บาง B School อาจมี Requirement ที่มากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ก็เป็นได้ ผู้สมัครสามารถเข้าไปตรวจสอบที่ website ของแต่ละสถาบันที่เราสนใจดีที่สุด…..

ระยะเวลาการเตรียมตัวเพื่อศึกษาต่อ

ก่อน ส.ค. Preparation

• GMAT
•TOEFL / IELTS
•Research School
ก.ค. – ส.ค. เปิดรับสมัครรอบแรก

ก.ย. – ม.ค. เปิดรับสมัครรอบ 2

ก.พ. – ก.ค. สัมภาษณ์ / ประกาศผล / เก็บตกรับสมัครรอบ 3

พ.ค. – ก.ค. Waiting List

ส.ค. – ต.ค. เปิดเทอม Fall


From : http://www.mbanewsthailand.com/2009/04/mba-inter/